fbpx

อันตรายจาก "ยุง" ที่คุณต้องระวัง!

เรียกได้ว่าในหน้าฝนปีนี้ฝนตกต้องตามฤดูกาลจริงๆ เลยนะคะ แน่นอนว่าก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ข้อเสียที่เราต้องคำนึงถึงที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ “ยุง” ที่มักจะแพร่ระบาดมากๆ ในช่วงฤดูฝนนี้ โรคที่เกิดจากยุงบางโรคอาจจะสามารถรักษาได้ บางโรคอาจจะรักษาไม่ได้ และบางโรคถ้าปล่อยเอาไว้ก็มีสิทธิ์ที่จะคร่าชีวิตเราได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นวันนี้ทาง USTAR จึงมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับโรคร้ายที่มียุงเป็นพาหะมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ จะมีโรคอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยคะ ^^


Series_2


“โรคไข้เลือดออก” พาหะคือ “ยุงลาย” โรคนี้ทำให้คนเสียชีวิตมานักต่อนักแล้ว เรียกได้ว่าเป็นโรคที่หายได้แต่ถ้าไม่รีบรักษาก็มีสิทธิ์ที่จะเสียชีวิตได้เช่นกันนะคะ ส่วนอาการก็เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ หน้าแดง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจมีผื่นขึ้นได้หลายรูปแบบ

ซึ่งบอกเลยนะคะว่าในช่วงหน้าฝนนี้หากรู้สึกป่วยมีไข้ให้รีบไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ เพราะบางครั้งเราอาจจะคิดง่ายๆ ว่าเป็นแค่ไข้หวัด

แต่..มันอาจจะไม่โชคดีอย่างที่เราคิดก็ได้!


Series_3


“โรคซิกา” ถือว่าเป็นโรคใหม่ในประเทศไทยของเรา และมีจำนวนประชากรที่ติดเชื้อยังไม่มากเท่ากับโรคไข้เลือดออก อาการคือมีไข้ มีผื่นตามตัว ตาแดงแต่ไม่มีขี้ตา ปวดศีรษะ ปวดข้อ อ่อนเพลีย อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต

แต่สิ่งที่น่ากลัวสำหรับโรคนี้ไม่ใช่ผู้ป่วยทั่วไปค่ะแต่เป็นผู้ป่วยที่มีการตั้งครรภ์ต่างหาก เพราะหากหญิงที่ตั้งครรภ์เกิดการติดเชื้อจากโรคนี้ล่ะก็มีโอกาสสูงเลยนะคะที่จะทำให้ลูกในท้องเกิดความบกพร่อง และโชคร้ายที่สุดคือลูกในท้องอาจเสียชีวิตได้ค่ะ

สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นป่วงคือ โรคนี้เป็นโรคที่วินิจฉัยยากพอสมควรเลยล่ะค่ะ เนื่องจากมีอาการเหมือนกับโรคอื่นๆ ที่พบได้ทั่วไป

เพราะฉะนั้นหากใครที่มีอาการตามข้างต้นก็อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคด้วยนะคะ ปลอดภัยไว้ก่อนค่ะ!


Series_4


 “โรคมาลาเรีย” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ไข้ป่า” เป็นโรคที่มีมายาวนาน ถึงจะลดน้อยแล้วแต่ไม่มีทีท่าว่าจะหมดไปจากบ้านเราเลยล่ะค่ะ ส่วนอาการของโรคนี้ก็คือมีไข้สูงหนาวสั่น แต่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ตามชายแดน, ในป่า หรือคนที่ไปเที่ยวตามป่าเขามาซะส่วนมากค่ะ

หากใครที่มีอาการนี้หลังจากไปเที่ยวมาก็สันนิษฐานไว้ก่อนเลยนะคะว่าอาจจะกำลังเกิดโรคมาลาเรียขึ้น

ให้รีบไปพบแพทย์และเล่าให้แพทย์ฟังอย่างละเอียดด้วยค่ะ เพื่อการรักษาที่ง่ายและเร็วขึ้นนะคะ


Series_5


“โรคไข้เหลือง” ไม่ใช่โรคที่จะทำให้เราจิตตกเท่ากับ 3 โรคแรกเลยล่ะค่ะ เพราะโรคนี้จะมีอยู่เฉพาะพื้นที่แถบแอฟริกาและอเมริกาใต้เท่านั้น ซึ่งโรคนี้ยังไม่มีการพบในประเทศไทย แต่..รู้มั้ยคะว่าโรคนี้เป็นโรคที่อันตรายมากๆ เพราะผู้ติดเชื้อมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมากๆ เลยล่ะค่ะ

ถึงแม้จะไม่มีในประเทศไทยแต่ก็มีโอกาสเกิดโรคขึ้นได้หากคุณไปเที่ยวในประเทศต่างๆ ตามพื้นที่เสี่ยง เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงเอาไว้นั่นก็คือ “ต้องป้องกันเสมอ” เมื่อจะต้องไปเที่ยวในที่ต่างๆ ค่ะ เพราะบอกเลยว่าหากเกิดโรคขึ้นมายังไงก็ไม่คุ้มแน่นอน

นอกจากจะต้องเจ็บป่วยแล้วก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ได้กลับเข้าประเทศด้วยล่ะค่ะ


Series_6


“โรคชิคุนกุนยา” เป็นโรคที่เราเพิ่งได้ยินชื่อเมื่อไม่นานมานี้เองนะคะ เรียกได้ว่าเป็นโรคที่ใหม่สำหรับคนไทยเราเลย แต่ก็บอกไว้เลยนะคะว่าโรคนี้ก็มีอันตรายพอสมควรเพียงแต่อาจจะไม่เท่ากับโรคไข้เลือดออกเท่านั้นเองค่ะ

อาการของโรคคือ ปวดข้อ อาจมีข้ออักเสบ อาการปวดข้อจะปวดมากจนบางครั้งอาจถึงกับขยับข้อไม่ได้ ข้อที่ปวดจะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ แม้ว่าตัวโรคจะหายแล้ว และอาจจะมีอาการอื่นๆ ที่คล้ายกับโรคไข้เลือดออกร่วมด้วยค่ะ และเจ้าพาหะของโรคนี้นั่นก็คือ “ยุงลาย” เช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออกเลยนะคะ

เพราะฉะนั้นหากใครที่มั่นใจว่าเคยถูกยุงลายกัดแล้วมีอาการปวดตามข้อ ก็อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉันด้วยนะคะ

เพื่อที่จะได้รักษาได้เร็วและไม่เกิดอาการเรื้อรังด้วยค่ะ


Series_7


แต่ถึงแม้ว่าเจ้ายุงทั้งหลายจะเป็นพาหะนำโรคต่างๆ มาทำให้เราต้องเจ็บป่วย แต่เชื่อเถอะค่ะว่าเราสามารถป้องกันมันได้แน่นอน

ยังไงซะการป้องกันก็ต้องดีกว่าการแก้ไขอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมาดูวิธีการป้องกันแบบง่ายๆ กันดีกว่าค่ะ


Series_8


การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เรียกได้ว่าเป็นการรณรงค์ที่เราได้เห็นมาตั้งแต่ครั้งยังเด็ก แต่ผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังมีการรณรงค์เรื่องนี้อยู่ หมายความว่าในบ้านเรายังมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเกิดขึ้นอยู่ตลอดนั่นเองค่ะ

และวิธีง่ายๆ ที่เราจะสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงนั่นก็คือ ป้องกันการมีน้ำขังในบ้านและรอบๆ บ้าน, เลี้ยงปลาหางนกยูง,

ใช้ผลิตภัณฑ์ทรายอะเบทเทลงในอ่างน้ำหรือแหล่งน้ำขังที่ไม่สามารถเททิ้งได้ ฯลฯ

ทั้งหมดนี้คือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เราสามารถทำได้ง่ายๆ ค่ะ และถ้ายังไม่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยได้มากแค่ไหน

เราก็มีตัวช่วยดีๆจากยูสตาร์ ที่อยากแนะนำกันคะ


Series_9


นอกจากการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงแล้วสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั่นก็คือ “การป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด” นั่นเองค่ะ บางคนอาจจะใช้วิธีการจุดยากันยุง, กางมุ้ง หรือถ้าบ้านใครมีพื้นที่รอบบ้านเยอะก็อาจจะปลูกตะไคร้หอมเพื่อไล่ยุงก็ได้นะคะ

เห็นมั้ยคะว่าเราสามารถป้องกันตัวเองจากยุงได้ เพียงแค่เราต้องใส่ใจและมีวินัยให้มากหน่อยเท่านั้นเองค่ะ หรือถ้าใครรู้สึกว่าไม่ชอบยาจุดกันยุง, ไม่มีมุ้ง หรือไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกตะไคร้หอม ก็สามารถเลื่อนไปดูวิธีถัดไปได้เลยค่ะ รับรองได้เลยว่าวิธีนี้ทั้งง่ายและสบายตัวแน่นอนค่ะ


Series_10


และวิธีป้องกันยุงที่ USTAR จะมานำเสนอนั่นก็คือการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง “ANTI MOSQUITO EMULSION  SPRAY” นั่นเองค่ะ

ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นสเปรย์สำหรับฉีดลงบนผิวหนังเพื่อป้องกันยุงรบกวน เรียกได้ว่าฉีดปุ๊บยุงไม่เข้าใกล้ปั๊บเลยค่ะ

แต่ไม่ต้องกังวลเลยนะคะว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะเป็นสารเคมีอันตราย เพราะผลิตภัณฑ์ของเราสกัดจากธรรมชาติแท้ๆ เลยล่ะค่ะ ไม่ต้องห่วงว่าจะแพ้เพราะสูตรของเราอ่อนโยนต่อผิวหนัง ไร้การระคายเคือง นอกจากนี้ยังไม่มีการเติมสารฆ่าแมลงลงไปด้วยค่ะ

เรียกได้ว่าปลอดภัย 100% แน่นอนค่ะ เพราะผลิตภัณฑ์ของเราเป็นสินค้าลิขสิทธิ์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก สวทช. สามารถใช้ได้ทั้งครอบครัวเลยล่ะค่ะ

หากสนใจสินค้าสามารถ Inbox มาหาแอดมินได้เลยนะคะ แอดมินยินดีให้บริการและพร้อมให้คำปรึกษาเสมอค่ะ


Line-Ustar-Disney-Minnie

  


บทความอื่นๆ

ตะกร้าสินค้า
ไม่พบสินค้า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save